วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บทเรียนเรื่องอินเทอร์เน็ต

คำถาม 5 ข้อ

1.ซอฟต์แวร์มีกี่ระบบ อะไรบ้าง
ตอบ 2 ระบบ  1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
2.ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 3 ประเภท ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษา  โปรแกรมอรรถประโยชน์
3.หน้าที่ของระบบปฏิบัติการมีกี่อย่าง
ตอบ 6 อย่าง
4. Microsoft Office PowerPoint เป็นซอฟต์แวร์ ในกลุ่มใด
ตอบ  ซอฟต์แวร์นำเสนอ
5.โปรแกรม windows ถือเป็นซอฟต์แวร์ ประเภทใด
ตอบ ซอฟต์แวร์ระบบ

สมาชิกในกลุ่ม ซอฟต์เเวร์

1.ด.ช. กฤตภาส จันทร์ศรี              เลขที่ 4              ม.2/4
2.ด.ช. คุณานนต์ กายกูล                  เลขที่  5             ม.2/4
3.ด.ช. เฉลิมเกียรติ คุ้มเดช             เลขที่ 6              ม.2/4
4.ด.ญ. เบญจวรรณ มาอยู่ดี            เลขที่ 18             ม.2/4
5.ด.ญ. วิชุตา หมาดอะดำ              เลขที่ 38             ม.2/4

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
4.1ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง ผู้ใช้จึงต้องเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การสร้างตารางทำงาน การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
1.ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
ใช้ในการสร้างงานเอกสารที่เป็นตัวอักษรและภาพบันทึก จดหมาย และแผ่นพับจดหมายข่าว คู่มือ และใบปลิวตัวอย่างโปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้

2.ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3.ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4.ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5.ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
 ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการภาพบิตแมพ
ภาพบิตแมพ(bitmap)เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากจุดจำนวนมากที่เรียกว่าพิกเซล(pixel)
บางครั้งเรียกภาพบิตแมพนี้ว่าภาพราสเตอร์(rasterimage)–ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้
•MicrosoftPaint
•AdobePhotoshop
•CorelPhotoPaint
•PaintShopPro

 6.ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็ปไซต์และการติดต่อสื่อสาร
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์เช่นโปรคอมครอสทอล์คเทลิก

 4.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนคือโปรแกรมเมอร์ (programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน ในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้

1.ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้งานด้วย
ซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างได้ เช่น กิจการธนาคาร มีการฝาก-ถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้ามีการขายสินค้า เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์อื่นๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานนอกจากจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจแล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกเช่น โปรแกรมช่วยค้นหาคำศัพท์ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เป็นต้น

โปรแกรมอรรถประโยชน์

โปรแกรมอรรถประโยชน์
เป็นโปรแกรมระบบอีกประเภทหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูล หรือในระหว่างที่กำลังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วโปรแกรมอรรถประโยชน์จะทำงานร่วมกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดเตรียมเนื้อที่ในดิสก์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนดิสก์ได้ หรือโปรแกรมที่อำนวยความสะดวก ในการทำสำเนาข้อมูลของโปรแกรมที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในที่ต่างๆ ได้หรือช่วยให้ผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรม สร้างแฟ้มข้อมูล หรือข้อความต่างๆ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นต้น ตัวอย่างของโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่นิยมใช้กันได้แก่ โปรแกรม Sidekick, PC-Tool หรือ Norton Utility เป็นต้น นอกจากนี้ในโปรแกรมระบบปฏิบัติการ WINDOWS 95 และ WINDOWS 98 ก็มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน และแก้ปัญหาทางเทคนิคหรือแม้แต่ช่วยตรวจสอบ และลดปัญหาบางประการของระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอรรถประโยชน์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ 

1.โปรแกรมอรรถประโยชน์

เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่มักมีการติดตั้งมาพร้อมกับระปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์
 1.1โปรแกรมอรรถประโยชน์จัดการไฟล์
1.2โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม
 1.3โปรแกรมอรรถประโยชน์สแกนดิสก์
 1.4โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
1.5โปรแกรมรักษาหน้าจอ
2.โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 2.1โปรมแกรมป้องกันไวรัส
 2.2โปรแกรมไฟร์วอลล์
 2.3โปรแกรมบีบอัดไฟล์

ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน


ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบช่วยเหลือการใช้งานระบบปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็มีทั้งเครื่องมือวินิจฉัย คอมไพเลอร์ เซิร์ฟเวอร์ ระบบหน้าต่าง โปรแกรมอรรถประโยชน์ โปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมสื่อสารข้อมูล ระบบฐานข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมาย จุดประสงค์ของซอฟต์แวร์ระบบคือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับโปรแกรมประยุกต์โดยโปรแกรมเมอร์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จากรายละเอียดต่าง ๆ ของความซับซ้อนในคอมพิวเตอร์ที่กำลังถูกใช้งาน โดยเฉพาะคุณลักษณะของหน่วยความจำและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ และอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่นอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องพิมพ์ เครื่องอ่าน หน่วยแสดงผล แป้นพิมพ์ ฯลฯ


ระบบปฏิบัติการ 
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ มีดังนี้
1.การจองและการกำหนดใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผมหลายชุดพร้อมกัน

ระบบปฏิบัติการที่สำคัญ มีดังนี้


1.ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้
(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคำสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic
User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทำงานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คำสั่ง
ที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกัน
ซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปคำสั่งโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรม
เดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทำงานของ Windows จะมี
ส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับ
ไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์
ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอร์ด (Clipboard) ระบบ Windows ทำให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทำความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
2.ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช
เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน
แบบจียูไอ ในปี194ของบริษัทแอปเปิล


3.ระบบปฏิบัติการลินุกช์
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

4.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์

เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยรุ่นแรกออกมาในชื่อWindows NT และพัฒนามาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุด คือ Windows Server 2003 ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย


5.ระบบปฏิบัติการปาล์ม
คืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ทำหน้าที่หลักในการเป็น organizer ก็คือการจัดระบบระเบียบส่วนตัว แต่ด้วยความ สามารถที่มากกว่านั้นปาล์มก็มีคุณสมบัติในการเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (ขนาดปาล์ม จึงได้ชื่อว่า Palm-size Computers) หรือ ขนาดพกพาไปไหนมาไหนได้ (จึงได้ชื่อว่า Hanheld Computers) คุณลักษณะของอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์จำพวกที่ทำหน้าที่ ในการ เป็น organizer ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์จำพวก PDAs (Personal Digital Assistants) ก็คือเลขาส่วนตัวในรูปแบบของ เครื่องมือทางดิจิตอลนั่นเอง


6.ระบบปฏิบัติการซิมเบียน
เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทซิมเบียน ออกแบบมาเพื่อรับรองเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย

โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้เรียกว่า รหัสต้นฉบับ หรือซอร์สโคด

4.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์

เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยรุ่นแรกออกมาในชื่อWindows NT และพัฒนามาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุด คือ Windows Server 2003 ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย

ประเภทของซอฟแวร์

ประเภทของซอฟแวร์

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมายซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งาน ผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตและจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟแวร์ตามสภาพการทำงาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟแวร์ประยุกต์

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มาให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา

2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น