วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน


ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบช่วยเหลือการใช้งานระบบปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็มีทั้งเครื่องมือวินิจฉัย คอมไพเลอร์ เซิร์ฟเวอร์ ระบบหน้าต่าง โปรแกรมอรรถประโยชน์ โปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมสื่อสารข้อมูล ระบบฐานข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมาย จุดประสงค์ของซอฟต์แวร์ระบบคือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับโปรแกรมประยุกต์โดยโปรแกรมเมอร์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จากรายละเอียดต่าง ๆ ของความซับซ้อนในคอมพิวเตอร์ที่กำลังถูกใช้งาน โดยเฉพาะคุณลักษณะของหน่วยความจำและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ และอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่นอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องพิมพ์ เครื่องอ่าน หน่วยแสดงผล แป้นพิมพ์ ฯลฯ


ระบบปฏิบัติการ 
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ มีดังนี้
1.การจองและการกำหนดใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผมหลายชุดพร้อมกัน

ระบบปฏิบัติการที่สำคัญ มีดังนี้


1.ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้
(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคำสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic
User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทำงานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คำสั่ง
ที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกัน
ซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปคำสั่งโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรม
เดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทำงานของ Windows จะมี
ส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับ
ไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์
ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอร์ด (Clipboard) ระบบ Windows ทำให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทำความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
2.ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช
เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน
แบบจียูไอ ในปี194ของบริษัทแอปเปิล


3.ระบบปฏิบัติการลินุกช์
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

4.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์

เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยรุ่นแรกออกมาในชื่อWindows NT และพัฒนามาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุด คือ Windows Server 2003 ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย


5.ระบบปฏิบัติการปาล์ม
คืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ทำหน้าที่หลักในการเป็น organizer ก็คือการจัดระบบระเบียบส่วนตัว แต่ด้วยความ สามารถที่มากกว่านั้นปาล์มก็มีคุณสมบัติในการเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (ขนาดปาล์ม จึงได้ชื่อว่า Palm-size Computers) หรือ ขนาดพกพาไปไหนมาไหนได้ (จึงได้ชื่อว่า Hanheld Computers) คุณลักษณะของอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์จำพวกที่ทำหน้าที่ ในการ เป็น organizer ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์จำพวก PDAs (Personal Digital Assistants) ก็คือเลขาส่วนตัวในรูปแบบของ เครื่องมือทางดิจิตอลนั่นเอง


6.ระบบปฏิบัติการซิมเบียน
เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทซิมเบียน ออกแบบมาเพื่อรับรองเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย

โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้เรียกว่า รหัสต้นฉบับ หรือซอร์สโคด

4.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์

เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยรุ่นแรกออกมาในชื่อWindows NT และพัฒนามาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุด คือ Windows Server 2003 ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย

1 ความคิดเห็น: